วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิวิธภาษาม.2 เรื่อง ออมไว้ใส่ถุงแดง





ออมไว้ใส่ถุงแดง

หากต้องการให้ชีวิตของตนและครอบครัว
ไม่เดือดร้อน ยากลำบาก มีความผาสุกที่ยั่งยืน
นอกจากต้องประกอกอาชีพสุจริต มีความซื่อสัตย์ มีมานะในการหาได้ให้
เพิ่มพูนมากขึ้นตามศักยภาพของตนแล้ว
ควรต้องรู้จักบริหารเงินรายได้ของตนเองให้เป็น
และเหมาะสม ไม่ควรใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่มี


ออมไว้ใส่ถุงแดง
เงินถุงแดง คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการค้าสำเภา คือ นำสินค้าบรรทุกเรือสำเภาส่งไปขายที่ประเทศจีน  ก่อนเสด็จสวรรคตได้พระราชทานไว้แก่แผ่นดินเพื่อใช้ทำนุบำรุงวัดวาอาราม  ที่สำคัญยิ่ง คือ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ร.ศ. ๑๑๒  ไทยต้องชดใช้เงินค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศสเงินส่วนใหญ่ที่ใช้ในการนี้ก็ได้มาจากเงินถุงแดง
เงินถุงแดงจัดอยู่ในประเภทเงินพระคลังข้างที่หรือเงินข้างที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  ในปัจจุบันคือเงินงบประมาณส่วนหนึ่งที่รัฐบาลทูลเกล้าทูลกระหม่อนถวายเพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่อง เงินพระคลังข้างที่ ไว้ใน สาส์นสมเด็จ เล่ม๑๓  ความว่า
“...เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า เดิมพระเจ้าแผ่นดิน โปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่งสำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่ายการอันใดโดยลำพังพระองค์เอง   คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้  จะเป็นประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาหรือมามีขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ไม่ทราบแน่ เห็นจะเรียกกันว่า เงินข้างที่ทำนองเดียวกับเรียกเงินที่เอาตามเสด็จไปไหนๆ ว่า เงินท้ายที่นั่ง”  และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่งเองถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นในเงินข้างที่อีกมาก  สำหรับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆและมีเงินซึ่งเรียกกันว่า  “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ...




พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓


สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เงินกำไรจากการค้าสำเภาหลวงคงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์ทรงแยกไว้ใช้จ่ายเป็นการส่วนพระองค์ ในยามที่รายได้ของแผ่นดินไม่พอใช้จ่ายในราชกาลจึงนำกำไรจากการค้าขายมาใช้ ในรัชสมัยพระบาทพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนพระราชทรัพย์เหล่านั้นคงจะบรรจุไว้ในถุงสีแดงเก็บไว้ในพระคลังข้างที่จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก เงินถุงแดง
ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ตรงกับปี ร.ศ.๑๑๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับประเทศฝรั่งเศส   ไทยไม่อาจทานอำนาจของฝรั่งเศษที่มีพลังแสนยานุภาพเหนือกว่า

จึงต้องยอมเสียดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง  คือ ดินแดนที่เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกือบทั้งหมด  และต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามอีกจำนวนหนึ่งด้วยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำ  “เงินถุงแดง” จึงได้มีส่วนช่วยมิให้ต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในครั้งนั้น  และได้รักษาอธิปไตยของชาติมาได้จนทุกวันนี้
เงินถุงแดงมีส่วนช่วยปกปักรักษาชาติไทยไว้ได้  ชาวไทยจึงควรระลึกถึงพระมาหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  และดำเนินการทางการเงินตามรอยพระยุคบาท  ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารประเทศหรือประชาชนคนธรรมดา  หากมีมานะพยายามที่จะหาเงินเลี้ยงชีพ  รู้จักใช้จ่ายให้เหมาะสม  และรู้จักสะสมเงินบางส่วนไว้เป็นเงินออมตามกำลังความสามารถเพื่อใช้จ่ายในคราวจำเป็น  ก็จะมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง  มีชีวิตที่ไม่ลำบาก  และมีความสุข



ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง ออมไว้ใส่ถุงแดง เป็นบทความที่ดัดแปลงจากเรื่อง เงินถุงแดง ความมั่งคงจากเศรษฐกิจ ของ ศิริภรณ์  จิรัปปภา ลงพิมพ์ใน วชิราวุธนุสรณ์สารปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒    เมษายน ๒๕๔๑ หน้า ๒๙-๓๑ ให้ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมา รวมทั้งการนำเงินถุงแดงไปใช้ประโยชน์เพ่อรักษาแผ่นดินและอธิปไตยของประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  บทความนี้ทำให้คนไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้ทรงบริหารประเทศและดำเนินการได้อย่างรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง  คนไทยจะได้เห็นว่า  พระสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีสายพระเนตรอันยาวไกล  ทรงทรงเก็บเงินเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สำรองไว้จนพระราชทรัพย์ส่วนนี้ได้ใช้จ่ายในเวลาที่บ้านเมืองประเทศชาติเกิดยุคเข็ญ
บทความนี้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า  หากตนการชีวิตของตนและครอบครัวไม่เดือดร้อนยากลำบาก  มีความผาสุกที่ยั่งยืน  นอกจากต้องประกอบอาชีพสุจริต  มีความซื่อสัตย์  มีมานะในการหารายได้ให้เพิ่มพูนมากขึ้นตามศักยภาพของตนแล้วควรต้องรู้จักบริหารเงินรายได้ของตนเองให้เป็นและเหมาะสมไม่ควรใช้เงินเกินรายได้ที่มี  ไม่ควรนำเงินหรือรายได้ที่ได้รับในอนาคตมาใช้จ่ายจนเป็นภาระหนี้สินเกินความจำเป็น  เพื่อความไม่ประมาท ควรเก็บออมเงินรายได้ส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินทุนสำรองสำหรับใช้จ่ายในความจำเป็นหรือนำไปสร้างเสริมฐานะให้มั่นคงมากขึ้น  การเก็บออมเงินนั้นเป็นลักษณะนิสัยที่ดี  ที่ควรสร้างให้เป็นกิจนิสัย  แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของความพอเหมาะพอดี  ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตอนหรือบุคคลที่แวดล้อม


เรียนรู้เรื่องย่อความ
   สิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ในการย่อความ  มีดังนี้
๑.ความหมายของการย่อความ
   การย่อความมีความสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งในทางตรงและทางอ้อม  เพราะในชีวิตบุคคลทั่วไปมีโอกาสและความจำเป็นที่ต้องย่อสิ่งที่ฟังหรืออ่าน  เพื่อเก็บสาระและจดจำหรือไว้เป็นความรู้  หรือนำไปใช้ประโยชน์
๒.  การจับประเด็นสำคัญ
          การย่อความ  ผู้อ่านต้องจับประเด็นสำคัญไห้ได้ครบถ้วน งานเขียนแต่ละเรื่องประกอบด้วยย่อหน้าหลายๆ  ย่อหน้า  แต่ละย่อหน้าประกอบด้วยประโยคหลายประโยค ตามปกติย่อหน้าแต่ละย่อหน้าจะมีทั้งใจความและพลความ
ใจความ คือ  ประโยคหรือข้อความสำคัญของย่อหน้า  ถ้าตัดออกจะเสียความหรือความเปลี่ยนไป ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังไม่เข้าใจหรือเข้าใจเรื่องผิดได้
            ประโยคใจความสำคัญอาจอยู่ต้นย่อหน้า  กลางย่อหน้า ท้ายย่อหน้าหรืออยู่ทั้งตอนต้นและตอนท้ายย่อหน้าก็ได้
พลความ คือประโยคหรือข้อความที่เป็นส่วนขยายความ  ทำหน้าที่ขยายใจความให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น  หากตัดส่วนประกอบส่วนนี้  ก็ยังเข้าใจเนื้อความสำคัญอยู่ ข้อความที่ขยายใจความสำคัญมีหลากหลายลักษณะ ดังนี้

๑)     อธิบายให้รายละเอียดหรือให้คำจำกัดความข้อความที่เป็นใจความ
๒)   แสดงตัวอย่างประกอบเพื่อให้ข้าใจใจความชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓)    เปรียบเทียบด้วยถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือยกเรื่องราวเป็นอุทาหรณ์เพื่อทำให้เข้าใจใจความได้ดีขึ้น
๔)    ให้เหตุผลโดยยกข้อมูล สถิติ หลักฐาน เป็นต้น

ข้อความต่อไปนี้แสดงประโยคใจความหรือข้อความสำคัญด้วยตัวพิมพ์หนาส่วนพลความแสดงด้วยตัวพิมพ์เอน
วัฒนธรรมไทยนั้น เด็กทารกให้นอนในเปล เปลที่ให้เด็กนอนนั้น นอกจากบอกความสบายแล้ว  ยังบ่งบอกฐานะของครอบครัวอีกด้วย  เช่นครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ก็จะมีเปลที่ประดิษฐ์ด้วยวัตถุที่มีราคา ครอบครัวฐานะปานกลาง บางครอบครัวอาจซื้อเปลที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาใช้ แต่บางครอบครัวก็ทอเปลใช้เอง  ส่วนครอบครัวที่มีฐานไม่ดีอาจใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าที่มีขนาดใหญ่และมีขนาดยาวพอสมควร นำมาผูกไว้เป็นเปลระหว่างเสาบ้าน ๒ ต้น หรือผูกไว้ระหว่างต้นไม้ ๒ ต้น
     หรือ                                                                                         
       การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี  ทั้งเปลืองเงินทองและเป็นการทำลายชีวิตและสุขภาพ  การดื่มสุราเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังมากกว่า ๖ชนิด การดื่มสุราเป็นสาเหตุอันดับ ๑ ของอุบัติเหตุจราจร  ซึ่งร้อยละ ๕เกิดจากเมาแล้วขับ  ส่วนการสูบบุหรี่เป็นการเร่งให้เสียชีวิตเร็วกว่าที่ควร  ทำให้เกิดโรคเรื้อรังทุกข์ทรมาน เช่น  มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง
       ประโยคใจความจากตังอย่างข้างต้น  อาจไม่ใช่ประโยคที่กะทัดรัด  จึงสามารถตัดคำ แต่งคำ รวมคำ เพื่อให้ได้ข้อความสละสลวยขึ้น ดังต่อไปนี้
๑.  ในวัฒนธรรมไทยนั้น  เด็กทารกให้นอนในเปล  เปลที่ให้เด็กนอนนั้น นอกจากจะ  บอกความสบายแล้ว ยงบ่งบอกฐานะของครอบครัวอีกด้วย
     ย่อเป็น  “เด็กไทยนอนเปลและเปลนั้นให้ความสบายและบ่งบอกฐานะของครอบครัวด้วย"
๒.  การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดีสิ้นเปลืองเงินทอง  ทำลายชีวิตและสุขภาพ
      ย่อเป็น  “การดื่มสุราและสูบบุหรี่ทำให้สิ้นเปลือง  ทำลายชีวิตและสุขภาพ
๓.  วิธีการย่อความ
 ๑)  อ่านเรื่องที่จะย่อให้ละเอียด  แล้วจับใจความรวมของเรื่อง เช่น อ่านให้รู้ว่า  ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำอย่างไร และเหตุใดจึงทำ  ควรจัดลำดับของเรื่อง เหตุการณ์ หรือเวลาให้ชัดเจน
๒)  แยกข้อความที่อ่านในแต่ละย่อหน้า  และจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่าแต่ละย่อหน้าว่าด้วยเรื่องอะไร  เขียนบันทึกสรุป  และอ่านทวนทุกย่อหน้าจนครบ
๓)  ข้อความที่ย่อแล้วใช้สรรพนาบุรุษที่ ๓ ไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ และที่ ๒  ถ้าจำเป็นต้องเอ่ยถึงผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่ย่อนั้นให้ใช้ชื่อโดยตรง
๔)  รายละเอียดบางประเด็น  เช่น  ตัวอย่าง  ถ้อยคำฟุ่มเฟือย  คำศัพท์ที่ทำให้เรื่องนั้นยาวเยิ่นเย้อให้ตัดทิ้ง  แต่ถ้ามีรายละเอียดที่มีสาระสำคัญสอดคล้องและสนับสนุนใจความสำคัญให้นำมาพิจารณารวมไว้ในเนื้อหาของย่อความนั้นด้วย
๕)  ถ้าข้อความเดิมใช้คำราชาศัพท์  เมื่อย่อยังคงใช้คำราชาศัพท์นั้น
๖)  ไม่ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ  และไม่ย่อคำโดยใช้อักษรย่อหรือคำย่อ
๗)  หาถ้อยคำใหม่แทนกลุ่มคำบางกลุ่ม  เพื่อให้ได้ความหมายเท่าเดิมแต่ลดคำลง  เช่น  พระรัตนตรัย  แทน  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เป็นต้น
๘)  นำข้อความที่เป็นสาระสำคัญของแต่ละย่อหน้ามาเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเองให้มีเนื้อความต่อเนื่องกัน  โดยใช้คำเชื่อมเพื่อให้เนื้อความสัมพันธ์กัน  ควรใช้สำนวนภาษาที่สั้น  กะทัดรัด  ได้ใจความ  ไม่จำเป็นจะต้องคงลำดับของเรื่องเดิมไว้  อาจสลับลำดับความใหม่ตามที่เห็นเหมาะสม
 ๙)  อ่านทบทวนแก้ไขให้เรื่องที่ย่อนั้นมีเนื้อความต่อเนื่องกันดี   มีใจความสำคัญและสาระสำคัญ องเรื่องครบถ้วนถูกต้อง
๔.  รูปแบบของย่อความ
สิ่งที่นำมาย่อความนั้นเป็นได้ทั้งงานเขียนประเภทต่างๆ  เช่น  ข้อเขียนในหนังสือ  อินเตอร์เน็ต  ฯลฯ  และข้อความที่ได้ฟังมา  เช่น  ข้อความที่ได้ฟังจากวิทยุ  โทรทัศน์  และอภิปราย  ฯลฯ  การย่อความจึงต้องมีคำนำและที่มาเพื่ออธิบายประเภทของเรื่องที่นำมาย่อนั้น  ดังนั้น  ย่อความจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน  คือ
 ๑)  ส่วนที่เป็นคำนำ  ใช้เขียนนำเป็นย่อหน้าแรก  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบรายละเอียดว่า  ย่อหน้านี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๆ  ดังนี้   (๑)  ลักษณะของเรื่องที่นำมาย่อ  ให้บอกว่าเป็นเอกสารร้อยกรอง  หรือร้อยแก้วประเภทใด  ชื่อเรื่องใด  ถ้าเป็นหนังสือราชการจะต้องระบุว่า  เรื่องอะไร เลขที่เท่าไร  ลงวันที่เท่าไร  เช่น  กลอนนิราศเรื่องนิราศภูเขาทอง  บทความเรื่องปฏิรูปประเทศไทย  หนังสือราชการเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาต  หนังสือที่  สว  ooo๒/o  ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒   เป็นต้น
(๒)  ข้อมูลเกี่ยวกับผู้แต่ง  ให้บอกชื่อและนามสกุลผู้แต่ง  ถ้าเป็น พระราชดำรัส  พระบรมราโชวาท  โอวาท  ปาฐกถา  คำปราศรัย สุนทรพจน์  หนังสือราชการ  และจดหมายทั่วไป  ให้เพิ่มว่า  พระราชทานแก่ใคร  แสดงแก่ใคร  และถึงใคร  เช่น  พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้บังคับชาลูกเสือ  คำปราศรัยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร  แสดงแก่ข้าราชการครูและนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หนังสือราชเลขาธิการถึงประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดทำโครงการเทิดพระเกียรติของวุฒิสภา  เป็นต้น
 (๓)  แหล่งข้อมูล  ถ้าข้อความที่ย่อมาจากเอกสารทั่วไปให้บอกว่ามาจากเอกสารใด  หน้าใด  และวัน  เดือน  ปีใด  ถ้าเป็นพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท  โอวาท  ปาฐกถา  คำปราศรัย  สุนทรพจน์  ให้เพิ่มว่า แสดงในโอกาสใด    สถานที่ใด  เช่น
          พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เรื่องความรักและความศรัทธาในหน้าที่ที่รับผิดชอบ  พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน  เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  วันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๓๙  มีใจความว่า
 กรณีเรื่องที่ย่อไม่มีชื่อเรื่อง  ให้บอกว่าไม่ปรากฏชื่อเรื่อง  หรืออาจตั้งชื่อเรื่องขึ้นเองได้  ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง  หรือไม่มีแหล่งข้อมูลใช้ว่า  ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง  ไม่ปรากฏ  วัน  เดือน  ปี  ถ้าค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตให้ระบุแหล่งเข้าถึง  และวัน  เดือน  ปี  ที่เข้าถึง  ต่อจากข้อ  (๑)  และ  (๒)  เช่น
 บทความเรื่องศิลปะการต่อสู้แบบเอเชียของทีมงานต่วยตูน จาก  www.thairath.co.th  เข้าถึงวันที่  ๒๗  มิถุนายน  ๒๕๕๓  มีใจความว่า
๒)  ส่วนที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง  คือ  ส่วนที่เป็นเนื้อความที่เรียบเรียงแล้ว  เขียนติดต่อกันเป็นย่อหน้าเดียว  ไม่ต้องย่อหน้าตามเรื่องเดิม แต่ถ้าเป็นบทร้อยกรองควรถอดความเป็นร้อยแก้วแล้วจึงย่อ
ตัวอย่างการย่อความร้อยแก้ว
        ย่อบทความเรื่องออมไว้ใส่ถุงแดง  ของศิริภรณ์   จิรัปปภา  จากหนังสือเรียน  รายวิชาพื้นฐาน  ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิวิธภาษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒  พ.ศ.  ๒๕๕๓  หน้า  ๑๘ – o  มีใจความว่า
       เงินถุงแดงเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับจากการค้าขายกับต่างประเทศ  และทรงเก็บไว้ในถุงแดง  พระองค์ทรงนำเงินส่วนหนึ่งมาทำนุบำรุงพระศาสนาและสำรองไว้เป็นเงินแผ่นดิน  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เงินถุงแดงชดใช้เป็นค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศสในเหตุการณ์กรณีพิพาทเรื่องดินแดน  ร.ศ.  ๑๑๒  ทำให้ไทยสามารถรักษาอธิปไตยไว้ได้  คนไทยควรดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมและออมเงินไว้ใช้ในคราวจำเป็น
ตัวอย่างการย่อความร้อยกรอง
            เนื้อเรื่องคำประพันธ์บทหนึ่งที่จะนำมาย่อความอยู่ในกลอนบทละครเรื่องพระร่วง  มีชื่อว่า  “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น”   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไทยรวมกำลังตั้งมั่น
ไทยรวมกำลังตั้งมั่น                                        จะสามารถป้องกันขันแข็ง,
ถึงแม้ว่าศัตรูผู้มีแรง                                           มายุทธ์แย้งก็จะปลาตไป
ขอแต่เพียงไทยเราอย่าผลาญญาติ;                  ร่วมชาติร่วมจิตเป็นข้อใหญ่;
ไทยอย่ามุ่งร้ายทำลายไทย,                              จงพร้อมใจพร้อมกำลังระวังเมือง.
ให้นานาภาษาเขานิยม                                              ชมเกียรติยศฟูเฟื่อง;
ช่วยกันบำรุงความรุ่งเรือง,                                 ให้ชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา.
ช่วยกันเต็มใจใฝ่ผดุง                                         บำรุงทั้งชาติศาสนา,
ให้อยู่จนสิ้นดินฟ้า;                                            วัฒนาเถิดไทย,  ไชโย !
บทละคร  “พระร่วง”  พระราชนิพนธ์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ก่อนนำเนื้อความจากคำประพันธ์  “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น” ไปย่อความนั้นต้องถอดความก่อนดังนี้
           เมื่อใดที่คนไทยพร้อมใจกัน  รวมกำลังให้มั่นคง  เข้มแข็ง  ไม่แตกความสามัคคี  ไม่ทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง  เมื่อนั้นคนไทยจะสามารถต่อสู้ข้าศึกที่เข้ามารุกรานประเทศได้  คนไทยต้องร่วมมือ  รวมพลังใจให้เป็นหนึ่งเดียว  หมั่นทำนุบำรุงประเทศชาติและพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้องไปทั่วโลก  ให้นานาประเทศยกย่องสรรเสริญคนไทยและประเทศไทยไปทั่วโลก
      หลังจาก  ถอดความคำประพันธ์แล้ว  นำข้อความมาย่อความใหม่ได้ดังนี้
                                   
ย่อคำประพันธ์  “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น”  ในบทละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.  ๒๕๓๗  มีใจความว่า
                                   
คนไทยทุกคนต้องมั่นคง  เข้มแข็ง  จึงจะสามารถต่อสู้ข้าศึกศัตรูที่เข้ามารุกรานประเทศไทยได้  อย่าแตกความสามัคคี  อย่ามุ่งทำร้ายกันเอง นอกจากนั้นยังต้องรวมพลังใจให้เป็นหนึ่ง  ต้องทำนุบำรุงชาติและพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  นานาประเทศก็จะยกย่อง  สรรเสริญคนไทยและประเทศไทยไปทั่วโลก

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายอัญประกาศ
            เนื้อหาของบทความเรื่อง  อมไว้ในถุงแดง  มีลักษณะที่ควรสังเกตประการหนึ่ง  คือ  การยกข้อความบางตอนจากหนังสือ  สาส์นสมเด็จ  เล่ม ๑๓  มาอ้างอิงหลักฐาน  และแทรกประกอบเนื้อหาของบทความ  การอ้างอิงหลักฐานเช่นนี้  มีแนวทางปฏิบัติคือ  ถ้าข้อความที่อ้างอิงนั้นมีความยาวไม่เกิน    บรรทัด  ให้ยกข้อความที่อ้างอิงนั้นไว้ใน  เครื่องหมายอัญประกาศ หากข้อความที่อ้างอิงนั้นยาวเกิน    บรรทัด  ให้ยกขึ้นมาย่อหน้าใหม่  และเขียนหรือพิมพ์ข้อความนั้นย่อเข้ามาประมาณ  ๕ –   อักษรทั้งด้านซ้ายและขวาของหน้ากระดาษ  บอกแหล่งที่มา  เพื่อให้เกียรติเจ้าของข้อความที่ยกมาอ้างอิง  อันเป็นมารยาทสากลที่ควรปฏิบัติให้เป็นกิจนิสัยและเพื่อประโยชน์สำหรับผู้อ่านจะค้นคว้าเพิ่มเติมได้สะดวกขึ้น
            เครื่องหมายอัญประกาศมี    ลักษณะ  คือ
            ๑.  อัญประกาศคู่   มีรูปดังนี้  “       ”  ประกอบด้วยอัญประกาศเปิด  “  และอัญประกาศปิด  ”  มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
 ๑)  ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นคำพูด  บทสนทนา  หรือความนึกคิด
 ๒)  ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นคัดมาจากที่อื่น
 ๓)  ใช้เพื่อเน้นความให้ชัดเจนขึ้น
๔)  ใช้เพื่อเน้นคำหรือข้อความเพื่อให้รู้ว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นสำนวนหรือเป็นภาษาปาก  ซึ่งมีความหมายผิดไปจากความหมายปรกติ
          ๒.  อัญประกาศเดี่ยว  มีรูปดังนี้  ‘     ’  ประกอบด้วยอัญประกาศเปิด  ‘  และอัญประกาศปิด  ’  ใช้แทนเครื่องหมายอัญประกาศคู่ในข้อความที่มีการใช้เครื่องหมายอัญประกาศคู่อยู่แล้ว





ลองตรอง  ลองทำดู
๑.     ครูนำสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความโชคดีของคนไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่มีพระอัจฉริยภาพและทรงมองการณ์ไกลเช่นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  และให้นักเรียนคิดมองอนาคตของตน  ครอบครัว  และชุมชนโดยมุ่งมองเพื่อหวังทำประโยชน์ให้เกิดแก่ชุมชนและตนเอง
๒.   ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการบริหารเงินและวิธีการออมเงิน  อาศัยความรู้จากประสบการณ์ของนักเรียนและจากเรื่องที่อ่าน
๓.    ฝึกย่อความจากบทเรียน  อินเตอร์เน็ต  หรือสิ่งพิมพ์อื่น  ตามรูปแบบและวิธีการย่อความที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
๔.    แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้  แล้วจัดเป็นสาระความรู้แลกเปลี่ยนกันในห้องเรียน  บันทึกเป็นความรู้สำหรับตนเองหรือติดป้ายนิเทศของห้องเรียน
๑)     เหตุการณ์  ร.ศ.  ๑๑๒  และเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงมาสู่สถานการณ์ความมั่นคงของประเทศในปัจจุบัน
๒)   ผลกระทบจาการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้ายู่หัว – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


คิดเพิ่ม  เสริมทักษะ

จัดอภิปรายตามหัวข้อต่อไปนี้
๑)     ออมวันนี้  เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า
๒)   ใช้จ่ายอย่างรู้คิด  ช่วยเศรษฐกิจของครอบครัว

       ขอขอบคุณ http://www.nangaon1999.blogspot.com
         



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น