วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8

รื่นเริงเพลงรำวง

                                                          ชาวไทยเจ้าเอ๋ย          ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่

                                                        การที่เราได้สนุก          เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้

                                                        เพราะชาติเราได้เสรี     มีเอกราชสมบูรณ์

                                                        เราจึงช่วยชูชาติ          ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ

                                                        เพื่อความสุขเพิ่มพูน      ของชาวไทยเราเอย

เฉลิม  เศวตนันท์ : เพลงชาวไทย                                      

 

                        คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน

เพลงลอยกระทง

วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

 
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ ฯ

 

บทเพลงข้างต้นเป็นบทเพลงสำหรับรำวง ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่ง เนื้อหาของบทเพลง

เป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว มีเรื่องราวของประเพณีที่เป็นวิถีชีวิตในวันเพ็ญเดือนสิบสอง

ของไทย มีการชมธรรมชาติและอื่น ๆ

รำวง เป็นการละเล่นที่นิยมเล่นกันทั่วทุกภาคในประเทศไทย โดยเฉพาะในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูล

สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ นั้นจะหาการละเล่นใดที่ได้รับความนิยมเกินกว่า

การเล่นรำวงเป็นไม่มี นอกจากจะเล่นกันทั่วไปแล้ว รัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ยังมอบ

หมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงท่ารำให้เป็นรำวงมาตรฐานด้วย
 
รำวง พัฒนามาจากการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่ารำโทน แต่ยังไม่มีหลักฐานว่ารำโทนมีมาตั้งแต่เมื่อใด 

หรือใครผู้คิดประดิษฐ์ขึ้น มีแต่เพียงคำบอกเล่า เกี่ยวกับถิ่นที่พบรำโทน ๓ สำนวน สำนวนแรกเล่าว่า ช่วง

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการเล่นรำโทนบริเวณบ้านแพะจังหวัดสระบุรี แต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก กันโดยทั่ว

ไป จนกระทั่งมีผู้นำไปเล่นในจังหวัดนครราชสีมา การเล่นรำโทนเริ่มเล่นที่นครราชสีมาก่อน แล้วจึงขยาย

ความนิยมไปยังถิ่นอื่นในภายหลัง ส่วนสำนวนสุดท้ายสันนิษฐานว่าการเล่นรำโทนมีมาตั้งแต่สมัยกรุง

ศรีอยุธยา โดยอ้างว่ามีการกล่าวถึงในเอกสารของชาวยุโรป


คำว่า รำวง บอกให้รู้ถึงวิธีการเล่นว่าต้องมีการรำ คือต้องแสดงท่าทางที่ใช้มือและแขนเป็นหลัก และการ

รำนั้นผู้รำจะต้องรำเป็นวงมีเพลงร้อง
และใช้เครื่องดนตรี เช่น โทน รำมะนา ดีให้จังหวะประกอบ

รำ เป็นการแสดงที่ผู้แสดงเคลื่อนไหวมือ แขน ขา และลำตัวให้อยู่ในอิริยาบทที่อ่อนช้อย งดงาม เข้ากับจังหวะดนตรี หากมีบทร้องด้วยก็


จะทำท่าทางตามถ้อยคำในบทร้องนั้น


ระบำ เป็นการรำที่มีจำนวนผู้รำมากกว่า ๒ คน เวลารำจะมีการจัดแปรเป็นแถวด้วยลีลาและลักษณะต่าง ๆ

 อย่างมีระเบียบสวยงาม
ฟ้อน เป็นการร่ายรำด้วยท่าทางที่กรีดกรายพร้อมกัน

เซิ้ง เป็นการร่ายรำด้วยท่าทางคึกคักตามจังหวะดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสาน เช่น เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งกะหยัง

การเล่น หมายถึง การกระทำสิ่งที่ทำให้ผู้ทำเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์ เช่น

 การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี

ขอขอบคุณ  http://www.sakdathai.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น