วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบวัตถุประสงค์ที่ 10

แบบทดสอบการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน
ภาษาไทย มัธยมศึกษาปีที่ ๒
การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน
โดยด.ช. ดำรงศักดิ์ พิมพ์น้อยและ ด.ช. ปรีชา บุตรแสง โรงเรียนผาแดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)

ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของกลอนสุภาพ
   กลอนแต่ละประเภทเรียกชื่อตามจำนวนคำ
   กลอนแปดเป็นกลอนที่นิยมแต่งกันมากที่สุด
   กลอนสุภาพบังคับตำแหน่งวรรณยุกต์เอกโท
   กลอนสี่เป็นประเภทหนึ่งของกลอนสุภาพ

ข้อที่ 2)
ข้อใดเป็นบังคับของคำประพันธ์กลอนสุภาพ
   คณะ สัมผัส เสียงวรรณยุกต์
   คณะ คำเป็น คำตาย สัมผัส
   คณะ คำเอก คำโท สัมผัส
   คณะ คำสร้อย สัมผัส

ข้อที่ 3)
ข้อใดกล่าวถูกต้อง
   สัมผัสในเป็นข้อบังคับที่สำคัญของกลอนสุภาพ
   สัมผัสนอกบังคับมีสัมผัสพยัญชนะคล้องจองกัน
   สัมผัสในมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ
   สัมผัสนอกเป็นสัมผัสระหว่างวรรคกับวรรค

ข้อที่ 4)
คำประพันธ์ใดเดิมใช้เล่นเป็นกลอนสดและลงท้ายบทด้วยคำว่า เอย
   กลอนสักวา
   กลอนนิราศ
   กลอนเพลงยาว
   กลอนดอกสร้อย

ข้อที่ 5)
ข้อใดเป็นลักษณะการขึ้นต้นของกลอนนิราศ
   เมื่อนั้น ท้าวยี่สิบกรรังสรรค์
   บัดนั้น เสนีรับสั่งใส่เกศา
   สักวา ดาวจระเข้ก็เหหก
   .... โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง

ข้อที่ 6)
ครานั้นคุณย่าทองประศรี ฟังวาทีพลายน้อยละห้อยไห้ เป็นคำประพันธ์ประเภทใด
   กลอนเพลงยาว
   กลอนบทละคร
   กลอนนิราศ
   กลอนเสภา

ข้อที่ 7)
เสียงวรรณยุกต์ของคำสุดท้ายในวรรครับคือข้อใด
   เสียงสามัญ
   เสียงเอก
   เสียงตรี
   เสียงจัตวา

ข้อที่ 8)
วรรคใดของกลอนสุภาพที่คำสุดท้ายใช้เสียงสามัญหรือตรี ไม่นิยมเสียงเอก โท จัตวา
   วรรครับ
   วรรครอง
   วรรคสลับ
   วรรครองและวรรคส่ง

ข้อที่ 9)
กลอนสุภาพใดไม่จัดว่าเป็นกลอนเพลง
   กลอนเสภา
   กลอนนิราศ
   กลอนนิทาน
   กลอนเพลงยาว

ข้อที่ 10)
ข้อใดเป็นวรรคถัดไปจาก เมื่อนั้น องค์พระนารายณ์ซึ่งเป็นศร
   ตกใจฟื้นกายตื่นจากนอน
   ภูธรกราบบาทพระศุลี
   ทูลว่าซึ่งข้าไม่สังหาร
   มิให้ข้าล้างอสุรา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น