วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบวัตถุประสงค์ที่ 10

แบบทดสอบการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน
ภาษาไทย มัธยมศึกษาปีที่ ๒
การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน
โดยด.ช. ดำรงศักดิ์ พิมพ์น้อยและ ด.ช. ปรีชา บุตรแสง โรงเรียนผาแดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)

ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของกลอนสุภาพ
   กลอนแต่ละประเภทเรียกชื่อตามจำนวนคำ
   กลอนแปดเป็นกลอนที่นิยมแต่งกันมากที่สุด
   กลอนสุภาพบังคับตำแหน่งวรรณยุกต์เอกโท
   กลอนสี่เป็นประเภทหนึ่งของกลอนสุภาพ

ข้อที่ 2)
ข้อใดเป็นบังคับของคำประพันธ์กลอนสุภาพ
   คณะ สัมผัส เสียงวรรณยุกต์
   คณะ คำเป็น คำตาย สัมผัส
   คณะ คำเอก คำโท สัมผัส
   คณะ คำสร้อย สัมผัส

ข้อที่ 3)
ข้อใดกล่าวถูกต้อง
   สัมผัสในเป็นข้อบังคับที่สำคัญของกลอนสุภาพ
   สัมผัสนอกบังคับมีสัมผัสพยัญชนะคล้องจองกัน
   สัมผัสในมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ
   สัมผัสนอกเป็นสัมผัสระหว่างวรรคกับวรรค

ข้อที่ 4)
คำประพันธ์ใดเดิมใช้เล่นเป็นกลอนสดและลงท้ายบทด้วยคำว่า เอย
   กลอนสักวา
   กลอนนิราศ
   กลอนเพลงยาว
   กลอนดอกสร้อย

ข้อที่ 5)
ข้อใดเป็นลักษณะการขึ้นต้นของกลอนนิราศ
   เมื่อนั้น ท้าวยี่สิบกรรังสรรค์
   บัดนั้น เสนีรับสั่งใส่เกศา
   สักวา ดาวจระเข้ก็เหหก
   .... โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง

ข้อที่ 6)
ครานั้นคุณย่าทองประศรี ฟังวาทีพลายน้อยละห้อยไห้ เป็นคำประพันธ์ประเภทใด
   กลอนเพลงยาว
   กลอนบทละคร
   กลอนนิราศ
   กลอนเสภา

ข้อที่ 7)
เสียงวรรณยุกต์ของคำสุดท้ายในวรรครับคือข้อใด
   เสียงสามัญ
   เสียงเอก
   เสียงตรี
   เสียงจัตวา

ข้อที่ 8)
วรรคใดของกลอนสุภาพที่คำสุดท้ายใช้เสียงสามัญหรือตรี ไม่นิยมเสียงเอก โท จัตวา
   วรรครับ
   วรรครอง
   วรรคสลับ
   วรรครองและวรรคส่ง

ข้อที่ 9)
กลอนสุภาพใดไม่จัดว่าเป็นกลอนเพลง
   กลอนเสภา
   กลอนนิราศ
   กลอนนิทาน
   กลอนเพลงยาว

ข้อที่ 10)
ข้อใดเป็นวรรคถัดไปจาก เมื่อนั้น องค์พระนารายณ์ซึ่งเป็นศร
   ตกใจฟื้นกายตื่นจากนอน
   ภูธรกราบบาทพระศุลี
   ทูลว่าซึ่งข้าไม่สังหาร
   มิให้ข้าล้างอสุรา


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิวิธภาษาม.2 เรื่อง ออมไว้ใส่ถุงแดง





ออมไว้ใส่ถุงแดง

หากต้องการให้ชีวิตของตนและครอบครัว
ไม่เดือดร้อน ยากลำบาก มีความผาสุกที่ยั่งยืน
นอกจากต้องประกอกอาชีพสุจริต มีความซื่อสัตย์ มีมานะในการหาได้ให้
เพิ่มพูนมากขึ้นตามศักยภาพของตนแล้ว
ควรต้องรู้จักบริหารเงินรายได้ของตนเองให้เป็น
และเหมาะสม ไม่ควรใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่มี


ออมไว้ใส่ถุงแดง
เงินถุงแดง คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการค้าสำเภา คือ นำสินค้าบรรทุกเรือสำเภาส่งไปขายที่ประเทศจีน  ก่อนเสด็จสวรรคตได้พระราชทานไว้แก่แผ่นดินเพื่อใช้ทำนุบำรุงวัดวาอาราม  ที่สำคัญยิ่ง คือ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ร.ศ. ๑๑๒  ไทยต้องชดใช้เงินค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศสเงินส่วนใหญ่ที่ใช้ในการนี้ก็ได้มาจากเงินถุงแดง
เงินถุงแดงจัดอยู่ในประเภทเงินพระคลังข้างที่หรือเงินข้างที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  ในปัจจุบันคือเงินงบประมาณส่วนหนึ่งที่รัฐบาลทูลเกล้าทูลกระหม่อนถวายเพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่อง เงินพระคลังข้างที่ ไว้ใน สาส์นสมเด็จ เล่ม๑๓  ความว่า
“...เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า เดิมพระเจ้าแผ่นดิน โปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่งสำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่ายการอันใดโดยลำพังพระองค์เอง   คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้  จะเป็นประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาหรือมามีขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ไม่ทราบแน่ เห็นจะเรียกกันว่า เงินข้างที่ทำนองเดียวกับเรียกเงินที่เอาตามเสด็จไปไหนๆ ว่า เงินท้ายที่นั่ง”  และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่งเองถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นในเงินข้างที่อีกมาก  สำหรับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆและมีเงินซึ่งเรียกกันว่า  “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ...




พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓


สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เงินกำไรจากการค้าสำเภาหลวงคงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์ทรงแยกไว้ใช้จ่ายเป็นการส่วนพระองค์ ในยามที่รายได้ของแผ่นดินไม่พอใช้จ่ายในราชกาลจึงนำกำไรจากการค้าขายมาใช้ ในรัชสมัยพระบาทพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนพระราชทรัพย์เหล่านั้นคงจะบรรจุไว้ในถุงสีแดงเก็บไว้ในพระคลังข้างที่จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก เงินถุงแดง
ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ตรงกับปี ร.ศ.๑๑๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับประเทศฝรั่งเศส   ไทยไม่อาจทานอำนาจของฝรั่งเศษที่มีพลังแสนยานุภาพเหนือกว่า

จึงต้องยอมเสียดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง  คือ ดินแดนที่เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกือบทั้งหมด  และต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามอีกจำนวนหนึ่งด้วยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำ  “เงินถุงแดง” จึงได้มีส่วนช่วยมิให้ต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในครั้งนั้น  และได้รักษาอธิปไตยของชาติมาได้จนทุกวันนี้
เงินถุงแดงมีส่วนช่วยปกปักรักษาชาติไทยไว้ได้  ชาวไทยจึงควรระลึกถึงพระมาหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  และดำเนินการทางการเงินตามรอยพระยุคบาท  ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารประเทศหรือประชาชนคนธรรมดา  หากมีมานะพยายามที่จะหาเงินเลี้ยงชีพ  รู้จักใช้จ่ายให้เหมาะสม  และรู้จักสะสมเงินบางส่วนไว้เป็นเงินออมตามกำลังความสามารถเพื่อใช้จ่ายในคราวจำเป็น  ก็จะมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง  มีชีวิตที่ไม่ลำบาก  และมีความสุข



ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง ออมไว้ใส่ถุงแดง เป็นบทความที่ดัดแปลงจากเรื่อง เงินถุงแดง ความมั่งคงจากเศรษฐกิจ ของ ศิริภรณ์  จิรัปปภา ลงพิมพ์ใน วชิราวุธนุสรณ์สารปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒    เมษายน ๒๕๔๑ หน้า ๒๙-๓๑ ให้ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมา รวมทั้งการนำเงินถุงแดงไปใช้ประโยชน์เพ่อรักษาแผ่นดินและอธิปไตยของประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  บทความนี้ทำให้คนไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้ทรงบริหารประเทศและดำเนินการได้อย่างรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง  คนไทยจะได้เห็นว่า  พระสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีสายพระเนตรอันยาวไกล  ทรงทรงเก็บเงินเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สำรองไว้จนพระราชทรัพย์ส่วนนี้ได้ใช้จ่ายในเวลาที่บ้านเมืองประเทศชาติเกิดยุคเข็ญ
บทความนี้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า  หากตนการชีวิตของตนและครอบครัวไม่เดือดร้อนยากลำบาก  มีความผาสุกที่ยั่งยืน  นอกจากต้องประกอบอาชีพสุจริต  มีความซื่อสัตย์  มีมานะในการหารายได้ให้เพิ่มพูนมากขึ้นตามศักยภาพของตนแล้วควรต้องรู้จักบริหารเงินรายได้ของตนเองให้เป็นและเหมาะสมไม่ควรใช้เงินเกินรายได้ที่มี  ไม่ควรนำเงินหรือรายได้ที่ได้รับในอนาคตมาใช้จ่ายจนเป็นภาระหนี้สินเกินความจำเป็น  เพื่อความไม่ประมาท ควรเก็บออมเงินรายได้ส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินทุนสำรองสำหรับใช้จ่ายในความจำเป็นหรือนำไปสร้างเสริมฐานะให้มั่นคงมากขึ้น  การเก็บออมเงินนั้นเป็นลักษณะนิสัยที่ดี  ที่ควรสร้างให้เป็นกิจนิสัย  แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของความพอเหมาะพอดี  ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตอนหรือบุคคลที่แวดล้อม


เรียนรู้เรื่องย่อความ
   สิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ในการย่อความ  มีดังนี้
๑.ความหมายของการย่อความ
   การย่อความมีความสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งในทางตรงและทางอ้อม  เพราะในชีวิตบุคคลทั่วไปมีโอกาสและความจำเป็นที่ต้องย่อสิ่งที่ฟังหรืออ่าน  เพื่อเก็บสาระและจดจำหรือไว้เป็นความรู้  หรือนำไปใช้ประโยชน์
๒.  การจับประเด็นสำคัญ
          การย่อความ  ผู้อ่านต้องจับประเด็นสำคัญไห้ได้ครบถ้วน งานเขียนแต่ละเรื่องประกอบด้วยย่อหน้าหลายๆ  ย่อหน้า  แต่ละย่อหน้าประกอบด้วยประโยคหลายประโยค ตามปกติย่อหน้าแต่ละย่อหน้าจะมีทั้งใจความและพลความ
ใจความ คือ  ประโยคหรือข้อความสำคัญของย่อหน้า  ถ้าตัดออกจะเสียความหรือความเปลี่ยนไป ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังไม่เข้าใจหรือเข้าใจเรื่องผิดได้
            ประโยคใจความสำคัญอาจอยู่ต้นย่อหน้า  กลางย่อหน้า ท้ายย่อหน้าหรืออยู่ทั้งตอนต้นและตอนท้ายย่อหน้าก็ได้
พลความ คือประโยคหรือข้อความที่เป็นส่วนขยายความ  ทำหน้าที่ขยายใจความให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น  หากตัดส่วนประกอบส่วนนี้  ก็ยังเข้าใจเนื้อความสำคัญอยู่ ข้อความที่ขยายใจความสำคัญมีหลากหลายลักษณะ ดังนี้

๑)     อธิบายให้รายละเอียดหรือให้คำจำกัดความข้อความที่เป็นใจความ
๒)   แสดงตัวอย่างประกอบเพื่อให้ข้าใจใจความชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓)    เปรียบเทียบด้วยถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือยกเรื่องราวเป็นอุทาหรณ์เพื่อทำให้เข้าใจใจความได้ดีขึ้น
๔)    ให้เหตุผลโดยยกข้อมูล สถิติ หลักฐาน เป็นต้น

ข้อความต่อไปนี้แสดงประโยคใจความหรือข้อความสำคัญด้วยตัวพิมพ์หนาส่วนพลความแสดงด้วยตัวพิมพ์เอน
วัฒนธรรมไทยนั้น เด็กทารกให้นอนในเปล เปลที่ให้เด็กนอนนั้น นอกจากบอกความสบายแล้ว  ยังบ่งบอกฐานะของครอบครัวอีกด้วย  เช่นครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ก็จะมีเปลที่ประดิษฐ์ด้วยวัตถุที่มีราคา ครอบครัวฐานะปานกลาง บางครอบครัวอาจซื้อเปลที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาใช้ แต่บางครอบครัวก็ทอเปลใช้เอง  ส่วนครอบครัวที่มีฐานไม่ดีอาจใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าที่มีขนาดใหญ่และมีขนาดยาวพอสมควร นำมาผูกไว้เป็นเปลระหว่างเสาบ้าน ๒ ต้น หรือผูกไว้ระหว่างต้นไม้ ๒ ต้น
     หรือ                                                                                         
       การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี  ทั้งเปลืองเงินทองและเป็นการทำลายชีวิตและสุขภาพ  การดื่มสุราเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังมากกว่า ๖ชนิด การดื่มสุราเป็นสาเหตุอันดับ ๑ ของอุบัติเหตุจราจร  ซึ่งร้อยละ ๕เกิดจากเมาแล้วขับ  ส่วนการสูบบุหรี่เป็นการเร่งให้เสียชีวิตเร็วกว่าที่ควร  ทำให้เกิดโรคเรื้อรังทุกข์ทรมาน เช่น  มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง
       ประโยคใจความจากตังอย่างข้างต้น  อาจไม่ใช่ประโยคที่กะทัดรัด  จึงสามารถตัดคำ แต่งคำ รวมคำ เพื่อให้ได้ข้อความสละสลวยขึ้น ดังต่อไปนี้
๑.  ในวัฒนธรรมไทยนั้น  เด็กทารกให้นอนในเปล  เปลที่ให้เด็กนอนนั้น นอกจากจะ  บอกความสบายแล้ว ยงบ่งบอกฐานะของครอบครัวอีกด้วย
     ย่อเป็น  “เด็กไทยนอนเปลและเปลนั้นให้ความสบายและบ่งบอกฐานะของครอบครัวด้วย"
๒.  การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดีสิ้นเปลืองเงินทอง  ทำลายชีวิตและสุขภาพ
      ย่อเป็น  “การดื่มสุราและสูบบุหรี่ทำให้สิ้นเปลือง  ทำลายชีวิตและสุขภาพ
๓.  วิธีการย่อความ
 ๑)  อ่านเรื่องที่จะย่อให้ละเอียด  แล้วจับใจความรวมของเรื่อง เช่น อ่านให้รู้ว่า  ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำอย่างไร และเหตุใดจึงทำ  ควรจัดลำดับของเรื่อง เหตุการณ์ หรือเวลาให้ชัดเจน
๒)  แยกข้อความที่อ่านในแต่ละย่อหน้า  และจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่าแต่ละย่อหน้าว่าด้วยเรื่องอะไร  เขียนบันทึกสรุป  และอ่านทวนทุกย่อหน้าจนครบ
๓)  ข้อความที่ย่อแล้วใช้สรรพนาบุรุษที่ ๓ ไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ และที่ ๒  ถ้าจำเป็นต้องเอ่ยถึงผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่ย่อนั้นให้ใช้ชื่อโดยตรง
๔)  รายละเอียดบางประเด็น  เช่น  ตัวอย่าง  ถ้อยคำฟุ่มเฟือย  คำศัพท์ที่ทำให้เรื่องนั้นยาวเยิ่นเย้อให้ตัดทิ้ง  แต่ถ้ามีรายละเอียดที่มีสาระสำคัญสอดคล้องและสนับสนุนใจความสำคัญให้นำมาพิจารณารวมไว้ในเนื้อหาของย่อความนั้นด้วย
๕)  ถ้าข้อความเดิมใช้คำราชาศัพท์  เมื่อย่อยังคงใช้คำราชาศัพท์นั้น
๖)  ไม่ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ  และไม่ย่อคำโดยใช้อักษรย่อหรือคำย่อ
๗)  หาถ้อยคำใหม่แทนกลุ่มคำบางกลุ่ม  เพื่อให้ได้ความหมายเท่าเดิมแต่ลดคำลง  เช่น  พระรัตนตรัย  แทน  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เป็นต้น
๘)  นำข้อความที่เป็นสาระสำคัญของแต่ละย่อหน้ามาเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเองให้มีเนื้อความต่อเนื่องกัน  โดยใช้คำเชื่อมเพื่อให้เนื้อความสัมพันธ์กัน  ควรใช้สำนวนภาษาที่สั้น  กะทัดรัด  ได้ใจความ  ไม่จำเป็นจะต้องคงลำดับของเรื่องเดิมไว้  อาจสลับลำดับความใหม่ตามที่เห็นเหมาะสม
 ๙)  อ่านทบทวนแก้ไขให้เรื่องที่ย่อนั้นมีเนื้อความต่อเนื่องกันดี   มีใจความสำคัญและสาระสำคัญ องเรื่องครบถ้วนถูกต้อง
๔.  รูปแบบของย่อความ
สิ่งที่นำมาย่อความนั้นเป็นได้ทั้งงานเขียนประเภทต่างๆ  เช่น  ข้อเขียนในหนังสือ  อินเตอร์เน็ต  ฯลฯ  และข้อความที่ได้ฟังมา  เช่น  ข้อความที่ได้ฟังจากวิทยุ  โทรทัศน์  และอภิปราย  ฯลฯ  การย่อความจึงต้องมีคำนำและที่มาเพื่ออธิบายประเภทของเรื่องที่นำมาย่อนั้น  ดังนั้น  ย่อความจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน  คือ
 ๑)  ส่วนที่เป็นคำนำ  ใช้เขียนนำเป็นย่อหน้าแรก  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบรายละเอียดว่า  ย่อหน้านี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๆ  ดังนี้   (๑)  ลักษณะของเรื่องที่นำมาย่อ  ให้บอกว่าเป็นเอกสารร้อยกรอง  หรือร้อยแก้วประเภทใด  ชื่อเรื่องใด  ถ้าเป็นหนังสือราชการจะต้องระบุว่า  เรื่องอะไร เลขที่เท่าไร  ลงวันที่เท่าไร  เช่น  กลอนนิราศเรื่องนิราศภูเขาทอง  บทความเรื่องปฏิรูปประเทศไทย  หนังสือราชการเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาต  หนังสือที่  สว  ooo๒/o  ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒   เป็นต้น
(๒)  ข้อมูลเกี่ยวกับผู้แต่ง  ให้บอกชื่อและนามสกุลผู้แต่ง  ถ้าเป็น พระราชดำรัส  พระบรมราโชวาท  โอวาท  ปาฐกถา  คำปราศรัย สุนทรพจน์  หนังสือราชการ  และจดหมายทั่วไป  ให้เพิ่มว่า  พระราชทานแก่ใคร  แสดงแก่ใคร  และถึงใคร  เช่น  พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้บังคับชาลูกเสือ  คำปราศรัยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร  แสดงแก่ข้าราชการครูและนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หนังสือราชเลขาธิการถึงประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดทำโครงการเทิดพระเกียรติของวุฒิสภา  เป็นต้น
 (๓)  แหล่งข้อมูล  ถ้าข้อความที่ย่อมาจากเอกสารทั่วไปให้บอกว่ามาจากเอกสารใด  หน้าใด  และวัน  เดือน  ปีใด  ถ้าเป็นพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท  โอวาท  ปาฐกถา  คำปราศรัย  สุนทรพจน์  ให้เพิ่มว่า แสดงในโอกาสใด    สถานที่ใด  เช่น
          พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เรื่องความรักและความศรัทธาในหน้าที่ที่รับผิดชอบ  พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน  เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  วันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๓๙  มีใจความว่า
 กรณีเรื่องที่ย่อไม่มีชื่อเรื่อง  ให้บอกว่าไม่ปรากฏชื่อเรื่อง  หรืออาจตั้งชื่อเรื่องขึ้นเองได้  ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง  หรือไม่มีแหล่งข้อมูลใช้ว่า  ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง  ไม่ปรากฏ  วัน  เดือน  ปี  ถ้าค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตให้ระบุแหล่งเข้าถึง  และวัน  เดือน  ปี  ที่เข้าถึง  ต่อจากข้อ  (๑)  และ  (๒)  เช่น
 บทความเรื่องศิลปะการต่อสู้แบบเอเชียของทีมงานต่วยตูน จาก  www.thairath.co.th  เข้าถึงวันที่  ๒๗  มิถุนายน  ๒๕๕๓  มีใจความว่า
๒)  ส่วนที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง  คือ  ส่วนที่เป็นเนื้อความที่เรียบเรียงแล้ว  เขียนติดต่อกันเป็นย่อหน้าเดียว  ไม่ต้องย่อหน้าตามเรื่องเดิม แต่ถ้าเป็นบทร้อยกรองควรถอดความเป็นร้อยแก้วแล้วจึงย่อ
ตัวอย่างการย่อความร้อยแก้ว
        ย่อบทความเรื่องออมไว้ใส่ถุงแดง  ของศิริภรณ์   จิรัปปภา  จากหนังสือเรียน  รายวิชาพื้นฐาน  ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิวิธภาษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒  พ.ศ.  ๒๕๕๓  หน้า  ๑๘ – o  มีใจความว่า
       เงินถุงแดงเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับจากการค้าขายกับต่างประเทศ  และทรงเก็บไว้ในถุงแดง  พระองค์ทรงนำเงินส่วนหนึ่งมาทำนุบำรุงพระศาสนาและสำรองไว้เป็นเงินแผ่นดิน  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เงินถุงแดงชดใช้เป็นค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศสในเหตุการณ์กรณีพิพาทเรื่องดินแดน  ร.ศ.  ๑๑๒  ทำให้ไทยสามารถรักษาอธิปไตยไว้ได้  คนไทยควรดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมและออมเงินไว้ใช้ในคราวจำเป็น
ตัวอย่างการย่อความร้อยกรอง
            เนื้อเรื่องคำประพันธ์บทหนึ่งที่จะนำมาย่อความอยู่ในกลอนบทละครเรื่องพระร่วง  มีชื่อว่า  “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น”   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไทยรวมกำลังตั้งมั่น
ไทยรวมกำลังตั้งมั่น                                        จะสามารถป้องกันขันแข็ง,
ถึงแม้ว่าศัตรูผู้มีแรง                                           มายุทธ์แย้งก็จะปลาตไป
ขอแต่เพียงไทยเราอย่าผลาญญาติ;                  ร่วมชาติร่วมจิตเป็นข้อใหญ่;
ไทยอย่ามุ่งร้ายทำลายไทย,                              จงพร้อมใจพร้อมกำลังระวังเมือง.
ให้นานาภาษาเขานิยม                                              ชมเกียรติยศฟูเฟื่อง;
ช่วยกันบำรุงความรุ่งเรือง,                                 ให้ชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา.
ช่วยกันเต็มใจใฝ่ผดุง                                         บำรุงทั้งชาติศาสนา,
ให้อยู่จนสิ้นดินฟ้า;                                            วัฒนาเถิดไทย,  ไชโย !
บทละคร  “พระร่วง”  พระราชนิพนธ์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ก่อนนำเนื้อความจากคำประพันธ์  “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น” ไปย่อความนั้นต้องถอดความก่อนดังนี้
           เมื่อใดที่คนไทยพร้อมใจกัน  รวมกำลังให้มั่นคง  เข้มแข็ง  ไม่แตกความสามัคคี  ไม่ทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง  เมื่อนั้นคนไทยจะสามารถต่อสู้ข้าศึกที่เข้ามารุกรานประเทศได้  คนไทยต้องร่วมมือ  รวมพลังใจให้เป็นหนึ่งเดียว  หมั่นทำนุบำรุงประเทศชาติและพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองก้องไปทั่วโลก  ให้นานาประเทศยกย่องสรรเสริญคนไทยและประเทศไทยไปทั่วโลก
      หลังจาก  ถอดความคำประพันธ์แล้ว  นำข้อความมาย่อความใหม่ได้ดังนี้
                                   
ย่อคำประพันธ์  “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น”  ในบทละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.  ๒๕๓๗  มีใจความว่า
                                   
คนไทยทุกคนต้องมั่นคง  เข้มแข็ง  จึงจะสามารถต่อสู้ข้าศึกศัตรูที่เข้ามารุกรานประเทศไทยได้  อย่าแตกความสามัคคี  อย่ามุ่งทำร้ายกันเอง นอกจากนั้นยังต้องรวมพลังใจให้เป็นหนึ่ง  ต้องทำนุบำรุงชาติและพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  นานาประเทศก็จะยกย่อง  สรรเสริญคนไทยและประเทศไทยไปทั่วโลก

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายอัญประกาศ
            เนื้อหาของบทความเรื่อง  อมไว้ในถุงแดง  มีลักษณะที่ควรสังเกตประการหนึ่ง  คือ  การยกข้อความบางตอนจากหนังสือ  สาส์นสมเด็จ  เล่ม ๑๓  มาอ้างอิงหลักฐาน  และแทรกประกอบเนื้อหาของบทความ  การอ้างอิงหลักฐานเช่นนี้  มีแนวทางปฏิบัติคือ  ถ้าข้อความที่อ้างอิงนั้นมีความยาวไม่เกิน    บรรทัด  ให้ยกข้อความที่อ้างอิงนั้นไว้ใน  เครื่องหมายอัญประกาศ หากข้อความที่อ้างอิงนั้นยาวเกิน    บรรทัด  ให้ยกขึ้นมาย่อหน้าใหม่  และเขียนหรือพิมพ์ข้อความนั้นย่อเข้ามาประมาณ  ๕ –   อักษรทั้งด้านซ้ายและขวาของหน้ากระดาษ  บอกแหล่งที่มา  เพื่อให้เกียรติเจ้าของข้อความที่ยกมาอ้างอิง  อันเป็นมารยาทสากลที่ควรปฏิบัติให้เป็นกิจนิสัยและเพื่อประโยชน์สำหรับผู้อ่านจะค้นคว้าเพิ่มเติมได้สะดวกขึ้น
            เครื่องหมายอัญประกาศมี    ลักษณะ  คือ
            ๑.  อัญประกาศคู่   มีรูปดังนี้  “       ”  ประกอบด้วยอัญประกาศเปิด  “  และอัญประกาศปิด  ”  มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
 ๑)  ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นคำพูด  บทสนทนา  หรือความนึกคิด
 ๒)  ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นคัดมาจากที่อื่น
 ๓)  ใช้เพื่อเน้นความให้ชัดเจนขึ้น
๔)  ใช้เพื่อเน้นคำหรือข้อความเพื่อให้รู้ว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นสำนวนหรือเป็นภาษาปาก  ซึ่งมีความหมายผิดไปจากความหมายปรกติ
          ๒.  อัญประกาศเดี่ยว  มีรูปดังนี้  ‘     ’  ประกอบด้วยอัญประกาศเปิด  ‘  และอัญประกาศปิด  ’  ใช้แทนเครื่องหมายอัญประกาศคู่ในข้อความที่มีการใช้เครื่องหมายอัญประกาศคู่อยู่แล้ว





ลองตรอง  ลองทำดู
๑.     ครูนำสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความโชคดีของคนไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่มีพระอัจฉริยภาพและทรงมองการณ์ไกลเช่นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  และให้นักเรียนคิดมองอนาคตของตน  ครอบครัว  และชุมชนโดยมุ่งมองเพื่อหวังทำประโยชน์ให้เกิดแก่ชุมชนและตนเอง
๒.   ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการบริหารเงินและวิธีการออมเงิน  อาศัยความรู้จากประสบการณ์ของนักเรียนและจากเรื่องที่อ่าน
๓.    ฝึกย่อความจากบทเรียน  อินเตอร์เน็ต  หรือสิ่งพิมพ์อื่น  ตามรูปแบบและวิธีการย่อความที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
๔.    แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้  แล้วจัดเป็นสาระความรู้แลกเปลี่ยนกันในห้องเรียน  บันทึกเป็นความรู้สำหรับตนเองหรือติดป้ายนิเทศของห้องเรียน
๑)     เหตุการณ์  ร.ศ.  ๑๑๒  และเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงมาสู่สถานการณ์ความมั่นคงของประเทศในปัจจุบัน
๒)   ผลกระทบจาการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้ายู่หัว – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


คิดเพิ่ม  เสริมทักษะ

จัดอภิปรายตามหัวข้อต่อไปนี้
๑)     ออมวันนี้  เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า
๒)   ใช้จ่ายอย่างรู้คิด  ช่วยเศรษฐกิจของครอบครัว

       ขอขอบคุณ http://www.nangaon1999.blogspot.com